วันสบายๆของนาย Arm`~

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลงาน

Inspiration (แรงบันดาลใจ)

              หมายถึง พลังอำนาจในตนเองชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการคิดและ การกระทำใด ๆ ที่พึงประสงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องอาศัยแรงจูงใจ(Motivation)ภาย นอกก่อให้เกิด แรงจูงใจขึ้นภายในจิตใจเสียก่อน เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการคิดและการกระทำในสิ่งที่พึงประสงค์เหมือนเช่น ปกติวิสัยของมนุษย์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าสิ่งที่ตนกระทำนั้นจะยากสักเพียงใด ตนก็พร้อมที่จะฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลายสู่ความสำเร็จที่ต้องการให้จงได้ แม้จะต้องเสียสละบางสิ่งของตนเองไปบ้าง ก็พร้อมที่จะเสียสละได้เสมอ ถ้าจะช่วยนำมาซึ่งผลสำเร็จที่ต้องการนั้นได้จริง ๆ

ด้วยเหตุนี้จึงพอจะบ่งชี้ให้เห็นความแตกต่างของที่มาของคำสองคำได้อย่างชัดเจน ระหว่างคำว่า “แรงจูงใจ” (Motivation) กับคำว่า “แรงบันดาลใจ” (Inspiration) โดยด้านของแรงจูงใจ (Motivation) ก็คืออำนาจ รับรู้สิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไข อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นตัวบงการให้เกิดพฤติกรรมภายนอกต่อไป

ส่วนแรงบันดาลใจ ก็คืออำนาจอันเกิดจากจิตวิญญาณซึ่งเป็นแก่นแท้ของตนเอง โดยใช้เงื่อนไขภายในจิตใจของตนด้วยตัวเอง ซึ่งเรียกว่า “การสำนึกรู้” (Conscious) สิ่งนี้เป็นตัวกำหนดการกระทำออกมา คิดดีจึงทำสิ่งดี คิดไม่ดีผลการกระทำจึงออกไม่ไม่ดีตามความคิด เราสามารถรู้จักต้นไม้ โดยดูจากผลของมัน

ดังนั้นความคิดจึงเป็นตัวกำหนดการกระทำ การกระทำกำหนดอุปนิสัย และอุปนิสัยเป็นตัวกำหนดผลปลายทางในชีวิต

"แรงบันดาลใจ" เป็น สิ่งสำคัญ เพราะแรงบันดาลใจทำให้เรามีแรงขับเคลื่อน แรงบันดาลใจเป็นขุมพลังทั้งในการจุดระเบิดแรกเริ่ม และยังคงเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงประคับประคองให้เราทำสิ่งนั้นจนสำเร็จลุล่วง ไปได้
มีสุภาษิตโบราณบทหนึ่งได้กล่าวว่า “เขาจะบินขึ้นด้วยปีกเหมือนนกอินทรี เขาจะวิ่งและไม่เหน็ดเหนื่อย เขาจะเดินและไม่อ่อนเปลี้ย”

ทำไม เขาจึงเป็นเช่นนั้น และอะไรที่เป็นแรงที่ขับเคลื่อนที่ทำให้เขาเป็นนั้นได้ คำตอบคือ “แรงบันดาลใจ” เมื่อเขาผู้นั้นได้พบกับบุคคลที่เป็นต้นแบบหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นแรง บันดาลใจที่หนุนใจเขา เขาก็จะมีกำลังขึ้นใหม่ที่ไปได้ไกลกว่าแรงปกติ

“แรงบันดาลใจจึงเป็นลมใต้ปีก ส่งให้ทะยานขึ้นไปสู่ปลายฟ้า”

หลาย เหตุการณ์ในชีวิตอาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่หวัง ทำให้รู้สึกท้อถอยและอยากจะเลิกลาได้ อยากหนุนใจว่า ท้อได้แต่อย่าถอย หากจะถอยก็ขอให้ถอยเพื่อตั้งหลัก สู้ต่อไป
แม้ จะล้มก็ลุกได้ อย่าล้มเลิก เพราะคนที่ล้มเหลว คือ คนที่ล้มเลิกไปก่อนที่จะเห็นผลของความสำเร็จว่ามีความสุขเพียงใด เมื่อเราได้มาในความยากลำบาก

ขอยกตัวอย่างบุคคลที่ไม่ท้อถอยเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆคนที่กำลังท้อใจอยู่ บุคคลผู้นี้คือ
สตีฟ จอบส์ กล่าวถึงในเรื่องของ “การลากเส้นต่อจุด(Connecting Dot)” ที่ บอกเป็นนัยๆว่า สิ่งที่เราทำทุกอย่างนั้นไม่มีสิ่งใดที่สูญเปล่าเพียงแต่เป็นการแต้มจุด ต่างๆให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรอที่สักวันหนึ่งมันจะมีเส้นตรงที่จะสามารถเชื่อมต่อจุดเหล่านั้นเข้า ด้วยกันได้ทั้งหมด ขอเพียงแต่ให้เราทำในสิ่งที่เราชอบเท่านั้น

ตัวอย่างผลงานวาดเขียนที่มีแรงบันดาลใจสูง






ทักษะเบื้องต้นก่อนการจะเป็นสถาปนิก

1.Drawing (วาดเส้น)





การวาดเส้น คือ การสร้างงานศิลปะวิธีหนึ่งที่มนุษย์รู้จักมาตั้งแต่เริ่มแรก เป็นวิธีที่สะดวก ง่าย
และรวดเร็วในการถ่ายทอดความคิดออกมาให้มองเห็นได้เป็นรูปร่าง คำที่มีความหมายเดียวกับ
คำว่าวาดเส้นอีกคำหนึ่ง ซึ่งใช้กันทั่วไปเช่นกัน คือคำว่า วาดเขียน ทั้งสองคำแปลมาจาก
ภาษาอังกฤษว่า Drawing

หลักสูตรการวาดเส้น เเบ่งเป็น 2 ระดับคือ

วาดเส้น 1
สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐาน แต่รักการวาดภาพ จะเริ่มสอนจากพื้นฐาน การวาดภาพ การจัดภาพ
การแรเงา การกำหนดสัดส่วนให้ถูกต้องตามวัตถุที่วาด เช่น หุ่นนิ่ง ทิวทัศน์ ฯลฯ

วาดเส้น 2
เรียนเกี่ยวกับการวาดภาพคนเหมือน เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐาน จากคอร์ส 1 เเละเพิ่มเรื่อง
ชองการร่างภาพ และการลงแสงเงาภาพคน โดยเรียนจากหุ่นปูน และ คนจริง


 
ตัวอย่างการวาดเส้น

      .... Interior Architecture ....


สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับสถาปนิก
                สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้างหรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรมโดย สถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น

สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง

รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม"
หน้าที่ของสถาปนิกกับโครงการก่อสร้างในยุคปัจจุบัน

ในรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ สถาปนิกจะทำสัญญากับเจ้าของโครงการ(Owner) โดยรับหน้าที่เป็นผู้ให้บริการวิชาชีพ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้าง ผ่านทางการออกแบบ(Building Design) และการทำแเบบก่อสร้าง(Construction Document) สถาปนิกจะมีที่ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในเรื่องเทคนิคระดับซับซ้อนคือ วิศวกร ซึ่งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละแขนงเกี่ยวกับการก่อสร้าง

โดยทั่วไปสำหรับโครงการขนาดกลาง วิศวกรเหล่านี้จะประกอบด้วย 

วิศวกรโครงสร้าง (Structural Engineer)
วิศวกรโยธา (Civil Engineer)
วิศวกรไฟฟ้า (Electrical Engineer)
วิศวกรประปา (Plumbing Engineer)
และ วิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer) นอกจากนี้อาจจะมีที่ปรึกษาอื่นๆที่สำคัญ เช่น มัณฑนากร(Interior Designer) และ ภูมิสถาปนิก (Landscape Architect)เป็นต้น

นักวิชาชีพทั้งหมดนี้จะทำงานร่วมกันเป็นทีม ผ่านการประสานงานของสถาปนิก ซึ่งเป็นผู้นำของทีม (Team Leader)และผู้ติดต่อประสานงานระหว่างทีม(Coordinator)เพราะที่ปรึกษาอื่นๆ จะไม่มีใครเข้าใจภาพรวมของโครงการเท่าสถาปนิก

ด้วย สาเหตุของความเข้าใจในโครงการที่มากกว่าสมาชิกในทีมคนอื่นๆ ทำให้สถาปนิกเป็นผู้ที่ติดต่อกับเจ้าของโดยตรงในการทำโครงการ นักวิชาชีพในทีมคนอื่นๆ ที่ต้องการติดต่อกับเจ้าของมักจะทำผ่านสถาปนิก หรือในบางกรณีสถาปนิกจะไม่อนุญาตให้สมาชิกในทีมคนอื่นๆ ติดต่อกับเจ้าของโดยตรงเลย เพราะจะเป็นการเกิดความสับสนในระบบการประสานงานและปฏิบัติการ

ถ้านักวิชาชีพเหล่านี้ทำสัญญาการว่าจ้างกับสถาปนิก สถาปนิกจะมีสถาณภาพเป็นผู้นำของทีมออกแบบ (Leader) แต่ถ้านักวิชาชีพเหล่านี้ทำสัญญาโดยตรงกับเจ้าของ สถาปนิกจะมีสภาณภาพเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) โดยส่วนใหญ่สถาปนิกจะทำสัญญาว่าจ้างกับนักวิชาชีพเหล่านี้เพื่อจะได้เกิดการ ควบคุมคุณภาพและสั่งการโครงการได้สะดวก แต่ในบางกรณี สถาปนิกอาจจะต้องการหลีกเลี่ยงการทำสัญญากับนักวิชาชีพเหล่านี้ โดยเฉพาะถ้าเป็นโครงการที่ใหญ่เป็นพิเศษที่สถาปนิกต้องมีความรับผิดชอบสูง มาก อาจเกิดความเสี่ยงต่อการรับผิดชอบความเสียหาย (Liability)มากจนไม่คุ้มกับค่าบริการวิชาชีพที่จะได้รับ สถาปนิกจะแนะนำให้เจ้าของโครงการทำสัญญาโดยตรงกับนักวิชาชีพเหล่านั้น

อีกด้านหนึ่ง เจ้าของโครงการ (Owner) จะทำสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง (Contractor) เพื่อให้ทำการก่อสร้าง ตามแบบก่อสร้าง (Construction Documents)และ รายการประกอบแบบ (Specification) ที่สถาปนิกและทีมผู้ช่วยทั้งหลายได้ทำการออกแบบ
ขั้นตอนการให้บริการวิชาชีพของสถาปนิก

สถาปนิกจะทำการบริการวิชาชีพตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design)

2. ออกแบบรายละเอียด (Design Development หรือ DD)

3. ทำแบบก่อสร้าง (Construction Document)

4. การประมูลและเจรจาต่อรอง (Bidding and Negotiation)

5. บริหารงานก่อสร้าง (Construction Administration)

ใน บางโครงการ อาจจะมีการเข้าไปรับงานเป็นทีม โดยเจ้าของทำสัญญากับทีมก่อสร้างเพียงสัญญาเดียว ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้รับเหมาก่อสร้าง สถาปนิก และ ที่ปรึกษาอื่นๆ รวมตัวกันเป็นหนึ่ง โดยการทำสัญญาโดยตรงนี้ จะเรียกว่า เป็นการบริการแบบ ดีไซน์บิลด์ (Design Build)
ขอบเขตงานของสถาปนิก

สถาปนิกในปัจจุบันได้มีการขยายขอบเขตการประกอบวิชาชีพไปในหลายๆ ด้านที่เป็นแนวทางเฉพาะ เช่น

1. งานด้านออกแบบ (Design)

2. งานด้านการบริหารโครงการ (Construction Management)

3. งานด้านการบริหารการใช้พลังงานในอาคาร (Building Energy Management)

4. งานด้านการออกแบบการให้แสง (Lighting Design)

5. งานด้านบริหารจัดการอาคาร (Facility Management)

6. งานด้านอนุรักษ์ (Preservation)

7. งานตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของอาคาร (Building Inspection)


================================================

                                     ภาพตัวอย่างงานสถาปนิกที่สร้างขึ้นจริง