วันสบายๆของนาย Arm`~

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะบ้านไทยในอดีต
๑. ปลูกเรือนใกล้แหล่งน้ำ 
      - เพื่อความสะดวกสบายในการใช้น้ำอุปโภค – บริโภค 
คมนาคมเกิดเป็นรูปแบบของหมู่บ้านแบบแนวยาวไปตามแม่น้ำ
เรือนไทยปลูกเรือนใกล้แหล่งน้ำ

๒. ไม่ปลูกเรือนขวางตะวัน 
      - เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนจากดวงอาทิตย์  
และรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
เรือนครอบครัวเดี่ยว

๓. มักเป็นเรือนขยายเรียกเรือนหมู่ - ใช้ชานเป็นตัวเชื่อม

เรือนหมู่ครอบครัวขยาย

ผังเรือนหมู่ครอบครัวขยาย

๔. ใต้ถุนสูง 
    - ป้องกันน้ำท่วมหน้าน้ำลาก
           - ทำหัตถกรรม จักสาน ทอผ้า
     
- ป้องกันสัตว์ร้าย สัตว์เลื้อยคลาน โจร  ขโมย
            - พื้นที่ตำข้าว  เก็บข้าว
     
- ใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่น  พักผ่อน
           - พื้นที่เลี้ยงสัตว์
     
- ใช้เก็บข้าวของเครื่องใช้ ไม้สอยต่างๆ
ใต้ถุนสูง

๕. ทรงสอบเข้าเพื่อความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้าง 
      
- รูปทรงสามเหลี่ยมมั่นคง  (Stable)   ที่สุด
      
  - พื้นดินภาคกลางค่อนข้างอ่อน การสอบข้าวของโครงสร้าง
            จึงทำให้มีการค้ำยัน
            - ต้านเเรงซึ่งกันเเละกันของอีกด้านหนึ่งได้
ทรงสอบเข้าเพื่อความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้าง

๖. หลังคาทรงสูง  (ทรงกรวด) 
      - เนื่องจากวัสดุมุงหลังคาอาจเป็น  แฝก  คา หรือกระเบื้อง
ดินเผาซึ่งมีโอกาสรั่วซึมได้ง่าย  การทำหลังคาทรงสูงจึงทำให้น้ำฝนไหลระบายได้เร็ว  ป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝนและช่วงปลายหลังคา
(ชายคา) ช่างจะบดให้แอ่นโค้งเพื่อช่วยส่งน้ำฝนออกจากตัวเรือนอีกด้วย
     
- ช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากหลังคาเนื่องจากมีช่องว่างอากาศที่มีปริมาณมากพอสมควร  และยังมีช่องว่างเล็กๆ ระหว่างกระเบื้องหรือแฝกคาที่ทำให้อากาศร้อนลอยตัวออกมาทางช่องว่างเล็กๆ  เหล่านั้นได้
หลังคาทรงสูง

๗. มีกันสาดโดยรอบ
        - เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในประเทศเขตร้อน  มีมรสุมพัดผ่านทำให้ฝนตกชุกตลอดปี  มีแดดร้อน  จึงมีการยื่นกันสาด
โดยรอบ  เพื่อป้องกันแดด - ฝน
ค้ำยันแบบแขนนาง

ค้ำยันแบบท้าวแขน

๘. มีป้านลมหรือปั้นลม
       
 - เพื่อป้องกันลมแรงพัดกระเบื้อง
ด้านจั่วหลุดปลิว  อาจเลือนมาจาก
คำว่า   “ต้านลม
ปั้นลมเเบบหางปลา
ปั้นลมแบบตัวเหงา

๙. นิยมจั่ว  รูปแบบ         จั่วลูกฟักหน้าพรหม  หรือจั่วพรหมพักตร์  สอดคล้องกับโครงสร้างของจั่วหลังคาแบบขื่อเอก  ขื่อโท  และเป็นรูปแบบที่มีความกลมกลืนกันกับฝาปะกน
       
 - จั่วพระอาทิตย์นิยมใช้กับเรือนครัว  เพราะส่วนของรัศมี
พระอาทิตย์จะตีไม้เว้นช่องว่างเพื่อระบายอากาศและควันจากเตาไฟ
ที่ปรุงอาหาร
        
- นิยมทำเพราะถือคติพระอาทิตย์ขึ้นอันจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง
        
- จั่วใบปรือ  เดิมจะเอาไม้ตีกระหนาบทับใบปรือในแนวนอน
แต่ภายหลังจั่วที่ตีไม้ซ้อนเกล็ดแนวนอนก็เรียก  จั่วใบปรือด้วยเช่นกัน
จั่วพระอาทิตย์

จั่วลูกพักหน้าพรหม

จั่วใบปรือ
๑๐. หลังคาชะโงกเล็กน้อย 
        
- เพื่อให้เกิดความสวยงาม  เพราะหากไม่ชะโงกออกมาเมื่อ
เงยหน้ามองยอดจั่วจะเกิดภาพแบบ  ทัศนียภาพ  ( Perspective )  ซึ่งจะมีจุดรวมสายตาทำให้เกิดภาพจั่วล้มหงายไปด้านหลัง  ภาษาช่างเรียก
อากาศกิน
        
- ช่วยป้องกันฝนสาดเข้าจั่วด้านบนที่มี  เช่น  จั่วพระอาทิตย์
        
- ช่วยระบายอากาศได้บ้าง  เช่น  จั่วพระอาทิตย์

หลังคาชะโงก

๑๑. ไม่นิยมทำฝ้าเพดาน
       
 - ทำให้อากาศจากใต้ถุนตัวเรือนพัดผ่านเข้ามาภายในตัวเรือนได้
ในลักษณะของความต่างของอุณหภูมิอากาศ  ( Stack  ventilation )
คือ  อากาศร้อนใต้หลังคาจะไหลผ่านตามช่องว่างเล็กๆ  ระหว่าง
กระเบื้องหลังคาอากาศที่เย็นกว่าใต้ถุนและตัวเรือนจะไหลเข้ามาแทนที่ทำให้เกิดการระบายอากาศภายในเรือนรู้สึกเย็นสบาย
การระบายอากาศ
๑๒. เป็นเรือนระบบสำเร็จรูป
       
 - เรือนระบบสำเร็จรูป  ( Prefabrication )  จึงมีการใช้คำว่า
ปรุงเรือน” แทนคำว่า  “ปลูกเรือน”   โดยจะปรุงเรือนเสร็จภายใน
วันเดียว  โดยการเตรียมชิ้นส่วนโครงสร้างและองค์ประกอบของเรือนไว้พร้อมแล้วออกปากขอแรงลงแขกจากเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงช่วย
ปรุงเรือนโดยเจ้าของเรือนจะต้องจัดข้าวปลาอาหารเลี้ยงดูเป็นการ
ตอบแทน
เรือนระบบสำเร็จรูป

๑๓. ฐานราก - ขุดลงจากชั้นดินเดิม  ≈  ๘๐ - ๑๐๐  ซม         ระแนะหรือแระ  ฐานราก )   เป็นแผ่นไม้กระดานสี่เหลี่ยมขนาด  ≈ ๐.๔๐ x ๐.๔๐  หนา   -    ซม.
                                        
     =   เป็นแผ่นไม้กลมแบน  Ø  ๓๐ - ๕๐  ซม. หนา   -   ซม.  วางไว้ก้นหลุมรับน้ำหนักเสาเรือนกันเรือนทรุด 
        
- งัว  =  ท่อนไม้กลม  Ø  ๑๕  ซม.  ยาว  ๕๐ - ๗๐  ซม.  ทำหน้าที่รองรับกงพัด
        
- กงพัด  =  ไม้เหลี่ยม   x ๑๕  ซม.  ยาว  ๕๐ - ๗๐  ซม.  บากเจาะรูที่โคนเสาสำหรับสอดกงพัด  หรือ  ใช้กงพัดคู่ประกับขนาบกับโคนเสา
            โดยบากโคนเสาทั้งสองต้นเป็นบ่ารับกงพัดคู่ไว้  ปลายกงพัดลงบนงัวอีกที  เพื่อถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดิน




ฐานราก
๑๔. โครงสร้างแบบดั้งเดิมไม่มีคาน - ตง         - โครงสร้างเดิมมีแต่  รอด - รา  รับพื้น  เนื่องจากพื้นกระดาน
มีความหนาและกว้าง  ส่วนพื้นปลายกระดานที่จดบริเวณรอบหัวเสารับด้วยฝักมะขามยึดกับเสาด้วยลูกสลักเพื่อไม่ให้พื้นกระดานไม่ยวบลง
โครงสร้างแบบดั้งเดิม

โครงสร้างแบบดั้งเดิม

โครงสร้างแบบ  คาน - ตง

๑๕. การลดระดับเรือน         - การลดระดับ    ระดับ  คือ  นอน - ระเบียง - ชาน  ลดระดับ
        ประมาณ  ๐.๓๐ - ๐.๔๐  ซม.
        - 
เพื่อให้เกิดการแยกพื้นที่ใช้สอยได้อย่างชัดเจน
        - 
คนไทยถือเรื่องอาวุโส  หากนั่งคุยกันเด็กนั่งระดับต่ำกว่าผู้ใหญ่
        - 
นั่งห้อยเท้าได้พอเหมาะพอดี
        - 
เพื่อการระบายอากาศที่ดี
        - 
โครงสร้างไม่เสียกำลังการรับน้ำหนัก  เพราะการเจาะรูรอดของเสา
        ที่มีพื้นเปลี่ยนระดับมีระยะห่างกัน
                                          การลดระดับเรือน
๑๖. เรือนนอน  เเละเรือนทั่วไป  มักมี    ห้องเสา  เรือนครัวมักมี    ห้องเสา
        
- ช่วงเสาเรือน  ( Span )  มักไม่มากกว่า  ๓.๕๐  เมตร  เนื่องจากข้อจำกัดของโครงสร้างไม้ที่อาจจะแอ่นตกท้องช้างตรงช่วงกลางได้หากตกท้องช้าง
               อาจจะใช้เสาตอม่อมาช่วยรับน้ำหนัก  เรียกเสาตอม่อที่มารับนี้ว่า  “เสาหมอ
        
- ห้องเสา  =  ที่ว่างที่โอบล้อมด้วยเสา    ต้น  โดยจะมีฝาห้องหรือไม่มีก็เรียก    ห้องเสาหรือระหว่างเสาคู่หนึ่งไปยังเสาอีกคู่หนึ่งก็เรียกห้องเสาเช่นกัน
เรือนครัว

  ห้องเสา มีฝากันหรือไม่มี
ก็เรียก    ห้องเสา

เรือนนอน

๑๗. เรือนเครื่องสับ  ใช้ฝาสำเร็จรูป 
          - ฝาเรือนไทยทั่วไปทำเป็น    ชนิด 
        
๑. ฝากรุ  นิยมทำฝาเรือนครัว  ระบายอากาศและควันได้ดี  =  กระเเชงอ่อน  เสื่อลำแผน  ฟาก  ขัดเเตะ  จากสาคู  ใบตาล  ทางมะพร้าว  ใบเตย 
        
๒. ฝากระดาน   =  โบราณห้ามมิให้เข้าฟากระดานตามขวาง  แนวนอน )  ถือว่าเอาอย่างตามฝาโลงผีเป็นอัปมงคล 
          
- ฝาสำเร็จรูป   ฝาที่ประกอบเข้าเสร็จพร้อมที่จะนำไปปรุงเรือนหนึ่งฝาของฝาสำเร็จนี้เรียกหน่วยเป็น  “กระแบะ”  
          
- ฝาปะกน     =  สันนิษฐานว่าช่างปรุงเรือนนำเอาเศษไม้ที่เหลือจากไม้โครงสร้าง  และทำเครื่องเรือนมาใช้ประโยชน์  โดยเข้าร่องประกล
                               
ลูกฟักเกิดรูปแบบ  ( Pattern )  ที่นิยมขึ้น  ฝาปะกน  โบราณเขียน   “ปกล”   น่าจะกร่อนมาจากคำว่า   “ปากกล”    
          
- ฝาสายบัว    =  ฝากระดานวางแนวตั้งต่อชนกัน  แล้วตีทับแนวไม้ปิดร่องที่ต่อชนกัน  เห็นเป็นเส้นในแนวตั้งไม่มีลูกนอน ลูกเซน ) เหมือนฝาปะกน 
         
 - ฝาสำหรวด   =  ฝาที่มีลูกตั้งเป็นหลักห่างประมาณ    คืบ  มีลูกนอน  ลูกเซน )  ขัดขวางระหว่างลูกตั้งในเเนวเดียวกันลำดับจากตีนฝาจนถึง
                               
ปลายฝาด้านในกรุด้วยใบจากใบเตย  กระแชงอ่อนหรือไผ่ขัดเเตะ  นิยมใช้กับเรือนครัวเพื่อการระบายอากาศและควัน
                                                         ฝาปะกน
ฝาสายบัว
                   
                        ฝาสำหรวด
-  ฝาประจำห้อง   ฝานี้เข้ากับโครงเรือนด้านยาว  ด้านรีหรือด้านแป  ก็เรียก  ฝานี้นั่งบนพรึง  มีขนาดความยาวฝา  =    ห้อง  เสา    กระแบะ
จึงเรียกฝาประจันห้อง 

จึงเรียกฝาประจันห้อง 
 ฝาประจันห้อง   ฝาที่คั่นสำหรับเเบ่งเรือน  เป็นห้องเล็กตามความยาวเรือนเป็นฝากลางระหว่างห้องที่แบ่งออกจึงเรียกฝาประจันห้อง
-  ฝาเสี้ยว         =  ฝาตรงส่วนระเบียง  พาไล )  ด้านบนฝาตัดเสี้ยวตามความสาดหลังคาระเบียง  คือ  การเข้าปากไม้เเบบรางลิ้น   (เข้าลิ้น) 

-  ฝาหุ้มกลอง    =  ฝาเรือนด้านขื่อด้านสกัดหรือด้านขวาง  เรียก  “ฝาหุ้มกลอง” เพราะฝานี้จะหุ้มฝาด้านยาวเหมือนกับหนังหุ้มกลอง  หากด้านยาวหุ้มด้านสกัดถือว่าไม่เป็นมงคลเพราะจะเหมือนกับการเข้าฝาของโลงศพ  ฝาหุ้มกลองนี้ยังเป็น  กระแบะหากทำกระแบะเดียว  ถือว่า  เป็นฝาโลงใส่ผีอีกเช่นกัน
ชื่อต่างๆ  ของฝาเรือน
๑๘. หน้าต่างเรือนแต่ละหลังห้ามทำมากกว่า    แห่ง
       
- หน้าต่างด้านสกัดหัวเรือน    ช่อง  ท้ายเรือน    ช่อง
       
- หน้าด้านยาว    ช่อง  รวมเป็น    ช่อง
       
- หากมีภัยจากตัว  จะไม่สามารถปิดได้ทันการ  หากมีหน้าต่างมากกว่า    บาน  ก็เกินความจำเป็น 
       
หยองหน้าต่าง
       
- มิให้หน้าต่างต่ำเกินไปเพื่อป้องกันฝนสาด
       
- เพื่อป้องกันเด็กเล็กตกลงไป
       
- ป้องกันขโมยปีนขึ้นได้ง่าย
       
- บังสายตา  เพื่อความเป็นส่วนตัว
       
- หยองหน้าต่าง  บางครั้งเป็นช่องโปร่งสามารถมองเห็นคนที่อยู่ด้านล่างเรือนได้
  หน้าต่างด้านนอก
หน้าต่างด้านใน


๑๙. ประตูเรือนแต่ละหลังห้ามทำมากกว่า    แห่ง       - อกเลา   ไม้ท่อนยาวเรียดเป็นเส้นตรงกลางหัวไม้กลางไม้และปลายไม้แกะเป็นรูปพนม ภูเขา)  สำหรับปิดบังในช่องระหว่างบานประตู
      
- ประตูมากไม่ปลอดภัย  หากเกิดเหตุภัยจวนตัวจะปิดให้หมด    แห่ง  ก็คงไม่ทันการ
      
- ฝาเรือนกะแบะหนึ่งควรเจาะช่องประตู    ช่อง
      
- ห้ามทำประตูชานเรือนตรงกับประตูนอน  เพื่อความปลอดภัย  เพราะหากมีผู้ปองร้ายก็จะเห็นผู้ที่อยู่ในเรือนได้ทะลุปรุโปร่ง
 ประตูภายนอก
ประตูภายใน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น